วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้พื้นฐานรายวิชา สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ภาคเรียนที่ ๑ / ๒๕๔๙
หน่วยที่ ๒ เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย เวลา ๕ ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง สภาพแวดล้อมทางกายภาพของไทย
**********************************************************
วันที่…….….. เดือน…………………… พ.ศ…………

สาระการเรียนรู้
สภาพแวดล้อมทางกายภาพของไทย

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจลักษณะและสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศไทย
และเห็นความ
๒. สำคัญของสภาพภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของประชากร
๓. สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ในท้องถิ่นของตนได้

สาระการเรียนรู้
๑. ลักษณะทั่วไปทางภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง
รูปร่าง
๒. อาณาเขตและเขตแดน
๓. ลักษณะทางภูมิประเทศของไทย
๔. ลักษณะทางภูมิอากาศ
๕. ลักษณะสำคัญทางด้านประชากร
๖. ทรัพยากรธรรมชาติ
๗. ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม





การจัดกระบวนการเรียนรู้ ๑ ชั่วโมง
ขั้นนำ
๑. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย
ขั้นจัดการเรียนรู้
๒. นักเรียนศึกษาแผนที่ทวีปเอเชีย หรือแผนที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้อาสาสมัครออกมาชี้ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
๓. นักเรียนศึกษาแผนที่ประเทศไทยและอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับขนาดและรูปร่างของประเทศไทย และอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านดดยมีเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศเป็นภูเขา แม่น้ำ
๔. นักเรียนดูแผนที่โครงร่างประเทศไทยให้นักเรียนใส่ชื่อจังหวัดต่างๆ พร้อมทั้งใส่ชื่อประเทศเพื่อนบ้านให้ครบทุกประเทศ ระบายสีเพื่อความสวยงามแล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
๕. นักเรียนศึกษาแผนที่ประเทศไทยแสดงจังหวัด ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมทั้งอธิบายสภาพทางภูมิศาสตร์ของไทย
๖. นักเรียนดูสไลด์ รูปภาพ วีดีทัศน์ หรือซีดีรอมเกี่ยวกับลักษณะภูมิศาสตร์
ทรัพยากรธรรมชาติ ลักษณะการดำเนินชีวิตของประชากรในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย
๗. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 ช่วยกันทำใบงานที่ 2.1 เรื่อง ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย และผลัดกันนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนประมาณ 2-3 กลุ่ม ต่อจากนั้นให้กลุ่มที่มีผลงานแตกต่างกันนำเสนอผลงานเพิ่มเติม
๘. นักเรียนนำข่าวการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยามาเล่าให้เพื่อนฟัง และตั้งคำถามดังนี้
- ข่าวที่เล่านั้นทำให้รู้สภาพของภูมิอากาศของภาคต่างๆ อย่างไร
- ขณะนี้ทุกภาคมีอากาศเป็นอย่างไร
- ทำไมภูมิอากาศของแต่ละภาคจึงมีความแตกต่างกัน
๙. นักเรียนศึกษาจากหนังสือเรียน เรื่อง ลักษณะถูมิอากาศและให้จับคู่กันทำใบงานที่ 2.2 เรื่อง ลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย
ขั้นสรุป
๑๐. นักเรียนช่วยกันเฉลยใบงานที่ 2.2 และร่วมกันสรุปลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย





การจัดการเรียนรู้ ๑ ชั่วโมง
ขั้นนำ
๑. ทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาแล้ว
ขั้นจัดการเรียนรู้
๒. นักเรียนแบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม โดยส่งตัวแทนออกมาจับฉลากเลือกหัวข้อ
นักเรียนร่วมกันศึกษาเกี่ยวกับเรืองภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ที่กลุ่มของตนเองรับผิดชอบ
กลุ่มที่ 1 ศึกษาภาคเหนือและทำใบงานที่ 2.3 เรื่อง ภูมิประเทศของภาคเหนือของประเทศไทย
กลุ่มที่ 2 ศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทำใบงานที่ 2.4 เรื่อง ภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
กลุ่มที่ 3 ศึกษาภาคตะวันตกและทำใบงานที่ 2.5 เรื่อง ภูมิประเทศของภาคกลางของประเทศไทย และใบงานที่ 2.6 เรื่อง ภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย
กลุ่มที่ 4 ศึกษาภาคตะวันออกและทำใบงานที่ 2.7 เรื่อง ภูมิประเทศภาคตะวันออกของประเทศไทย
กลุ่มที่ 5 ศึกษาภาคใต้และทำใบงานที่ 2.8 เรื่อง ภูมิประเทศภาคใต้ของประเทศไทย
๓. นักเรียนส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงาน และอธิบายความรู้ที่ได้มาจากหัวข้อใบงานที่ 2.3 – 2.8 พร้อมเปิดโอกาสให้เพื่อนได้ซักถาม
ขั้นสรุป
๔. นักเรียนร่วมกันสรุปประโยชน์เกี่ยวกับใบงานที่ 2.3 – 2.8

การจัดการเรียนรู้ ๑ ชั่วโมง
ขั้นนำ
๑. ทบทวนความรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ภาคต่างๆ ของไทย
ขั้นจัดการเรียนรู้
๒. นักเรียนตอบปัญหาความรู้เกี่ยวกับภูมิภาคต่างๆ ของไทย
๓. นักเรียนจัดโต๊ะสำหรับการแข่งขันการตอบปัญหาออกเป็นโต๊ะ
๓. การดำเนินการแข่งขัน
๔. นักเรียนจับฉลากคำถามกลุ่มละ 1 ซอง แต่ละซองจะมีคำถามอยู่รวม 10 ข้อ แยกข้อละ 1 แผ่น แต่ละข้อจะมีคำเฉลย
เริ่มการแข่งขัน
สมาชิกคนที่ 1 เปิดซองหยิบคำถามออกมาอ่านดังๆ
สมาชิกคนที่ 2 , 3 , 4 , 5 ฟัง และเขียนคำตอบส่งให้สมาชิกคนที่ 1
สมาชิกคนที่ 1 เฉลยคำตอบแล้วให้คะแนน 2 คะแนน
สมาชิกผลัดกันอ่านคำถามและตรวจคำตอบ ทำเช่นนี้จนทุกคนได้ตอบคำถามจำนวนเท่าๆ กัน
สมาชิกรวมคะแนนของตนที่ได้จากการแข่งขันตอบคำถามและกลับเข้าไปยังกลุ่มเดิมของตนสมาชิกทุกคนนำคะแนนมารวมกัน
ขั้นสรุป
๕. นักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับประโยชน์ของการแข่งขันการตอบปัญหา

การจัดการเรียนรู้ ๑ ชั่วโมง
ขั้นนำ
๑. ทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาแล้ว
ขั้นสอน
๒. นักเรียนยกตัวอย่างทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของท้องถิ่นหรือชุมชนที่สำคัญ และมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของประชากรในท้องถิ่นตน พร้อมทั้งบอกถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้น
๓. นักเรียนดูภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การตั้งถิ่นฐานของประชากรริมน้ำ แล้วสนทนาถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๔. นักเรียนชมวีดีทัศน์ หรือภาพเกี่ยวกับสถานการณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย แล้ววิเคราะห์ร่วมกัน
๕. นักเรียนตอบคำถาม เพื่อช่วยกันคิดวิเคราะห์และร่วมแสดงความคิดเห็น เช่น
- สถานการณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเป็นอย่างไร
- สาเหตุของการร่อยหรอและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติมา
จากสาเหตุอะไร
- มีวิธีการแก้ปัญหาเหล่านั้นอย่างไร
๖. นักเรียนแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมในใบงาน 2.9 เรื่อง สภาพภูมิศาสตร์กับการดำรงชีวิตและผลัดกันนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
๗. นักเรียนจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชนร่วมกับท้องถิ่น เช่น โครงการปลูกป่าชุมชน โครงการเก็บขยะ แล้วบันทึกการดำเนินการปฏิบัติ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยให้นักเรียนออกแบบบันทึกผลการปฏิบัติกิจกรรมตามความเหมาะสม กิจกรรมนี้อาจจะทำนอกเวลาหรือวันหยุด
ขั้นสรุป
๘. นักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการทำกิจกรรมพัฒนาชุมชน


การจัดการเรียนรู้ ๑ ชั่วโมง
ขั้นนำ
๑. ทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาแล้ว
ขั้นจัดการเรียนรู้
๒. นักเรียนตอบคำถาม เพื่อให้นักเรียนช่วยกันคิดวิเคราะห์และร่วมแสดงความคิดเห็น เช่น
- สถานการณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเป็นอย่างไร
- สาเหตุของการร่อยหรอและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติมาจากสาเหตุอะไร
- มีวิธีการแก้ปัญหาเหล่านั้นอย่างไร
๓. นักเรียนแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมในใบงานที่ ๒.๙ เรื่อง สภาพภูมิศาสตร์กับการดำรงชีวิตและผลัดกันนำเสนอผลงานหน้าชั้น
๔. นักเรียนแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมนักอนุรักษ์รุ่นเยาว์
๑) นักเรียนเสนอโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ๑
โครงการ
๒) ปฏิบัติการตามโครงการที่ได้เสนอไป บันทึกผลการปฏิบัติ พร้อมทั้งสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไข
๓) สรุปผลการปฏิบัติกิจกรรมนักอนุรักษ์รุ่นเยาว์แล้วนำมาอภิปรายในชั้นเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มอื่น
ขั้นสรุป
๕. นักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

แหล่งการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้
๑. ข่าว
๒. แผนที่ประเทศไทย
๓. ใบงาน
๔. ชุมชนหรือท้องถิ่น
๕. ห้องสมุด
๖. อินเตอร์เน็ต

การประเมินผลการเรียนรู้
๑. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
๒. ตรวจใบงาน
๓. แบบทดสอบ

ไม่มีความคิดเห็น: